วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

คุณภาพของข้าว

คุณภาพข้าว
คุณภาพข้าวขึ้นกับวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์หรือการบริโภคข้าวส่วนใหญ่มักค้าขาย 
และบริโภคกันในรูปของเมล็ดข้าวที่หุงต้มทั้งเมล็ดดังนั้นคุณภาพทางกายภาพจึงเป็นปัจจัยสำคัญ
 นอกจากนี้ความนิยมในการบริโภคข้าวก็เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินคุณภาพข้าว 
ในการค้ามักพิจารณาจากคุณลักษณะทางกายภาพเป็นหลัก เนื่องจากเป็นสิ่งที่ปรากฏเด่นชัด 
ดังนั้นคุณภาพข้าวแบ่งออกเป็น 4 ประเภท
-  คุณภาพทางกายภาพ
-  คุณภาพการสี
-  คุณภาพในการซื้อขาย  
คุณภาพทางเคมีที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการหุงต้มและรับประทาน
1. คุณภาพทางกายภาพ  (Grain  physical  quality) หมายถึง คุณสมบัติภายนอกของเมล็ดที่เห็นได้ง่าย สามารถตรวจสอบด้วยสายตาได้เช่น  ชั่ง ตวง วัด การซื้อขายข้าวยังใช้คุณสมบัติเมล็ดข้าวทางกายภาพในการจำแนกเกรดข้าวทุกชนิด ทั้งนี้มีความชัดเจนและตรวจสอบได้รวดเร็วซึ่งจำแนกเป็น
             1.1 สีข้าวเปลือก เป็นลักษณะประจำพันธุ์ ซึ่งมีสีขาวหรือฟาง มีส่วนในการตั้งชื่อพันธุ์ข้าวในอดีต สีข้าวเปลือกจะพบมีสีขาว ฟาง ม่วง และดำ

             1.2 สีข้าวกล้อง 
เมื่อกะเทาะเปลือกข้าวออกเป็นข้าวกล้อง สีของข้าวกล้องส่วนใหญ่มีสีขาว บางพันธุ์มีสีแดงน้ำตาลหรือสีม่วงจนเกือบดำ ซึ่งถือว่าเป็นสีที่มีคุณภาพเฉพาะและนิยมบริโภคเพื่อคุณภาพทางด้านโภชนาการหรือเป็นขนม เช่นข้าวแดง ข้าวเหนียวดำ  ข้าวกล้องชนิดนี้ถ้าเป็นสีล้วนๆ จะมีราคาสูง แต่ถ้าปนข้าวขาวคุณภาพและราคาจะด้อยลง
             1.3 ขนาดของเมล็ด (Grain size)   วัดจาก ความยาว  กว้าง  หนาของเมล็ด      แต่ในการพิจารณาคุณภาพเมล็ดทั่วไปจะหมายถึงความยาวของเมล็ด  มาตรฐานข้าวไทยกำหนดชั้นของเมล็ดเป็น 4 ขนาด เช่นเดียวกับมาตรฐานกำหนดชั้นของเมล็ดของสหรัฐอเมริกา  แต่มีขนาดแตกต่างกัน ชั้นของเมล็ดข้าวตามมาตรฐานข้าวไทยและสหรัฐอเมริกา
 ชั้นของเมล็ด 
ไทย
สหรัฐอเมริกา
(มม.) 
 (มม.)
เมล็ดยาวชั้น 1(Extra  long) 
 >7.0 
>7.50
เมล็ดยาวชั้น 2(Long)
6.6-7.0
6.61-7.50 
เมล็ดยาวชั้น 3(Medium)
6.2-6.6 
5.51-6.60
เมล็ดสั้น         (Short) 
<6.2 
<5.50
center
         

   1.4  รูปร่างเมล็ด ประเมินจากอัตราส่วนความยาวต่อความกว้าง    ดังนี้
 รูปร่างเมล็ด
ความยาว/ความกว้าง
เรียว (Slender) 
มากกว่า 3.0
ปานกลาง (Medium)
  2.0-3.0
ป้อม (Bold) 
  น้อยกว่า 2.0

          1.5 ข้าวท้องไข่ (Chalky grain) 
เป็นจุดขุ่นขาวทึบแสงในเมล็ดข้าวเจ้า  ซึ่งเกิดจากการจับตัวอย่างหลวมๆ ระหว่างผลึกแป้ง (starch  granule) ,กลุ่มแป้ง (starch compound)  และโปรตีน(protein body)   ทำให้เกิดช่องอากาศเล็กๆภายในเมล็ด จึงเห็นเป็นลักษณะทึบแสง จุดขุ่นขาวนี้มีขนาดแตกต่างกัน ตำแหน่งท้องไข่อาจเกิดขึ้นตรงกลางเมล็ด (white center), จากด้านท้องที่อยู่ข้างเดียวกับคัพภะ (white belly)   หรือจากด้านหลัง (white back)   ข้าวไทยส่วนมากเป็นท้องไข่น้อยเป็นประเภท white belly ข้าวท้องไข่ไม่นิยมในวงการค้าข้าวเพราะไม่สวยและคุณภาพการสีไม่ดี ข้าวหักมาก ข้าวท้องไข่ นอกจากควบคุมด้วย พันธุกรรม สภาพแวดล้อม เช่น  แหล่งปลูก  ฤดูกาล อุณหภูมิ  และการใส่ปุ๋ย
            1.6 ความใสของเมล็ด หมายถึง ความทึบแสง (Opaque) หรือความใส ( Translucence) ของเนื้อข้าวสารทั้งเมล็ด
 

2. คุณภาพการสี  เป็นการตรวจสอบข้าวอย่างหนึ่ง โดยนำข้าวเปลือกมาผ่านกระบวนการขัดสี ซึ่งประกอบไปด้วยขั้นตอนพื้นฐาน 4 ขั้นตอน คือ
  1. การทำความสะอาด (Cleaning) เพื่อกำจัดระแง้ ใบ เมล็ดลีบ เมล็ดวัชพืช ดิน หิน กรวด ทราย สิ่งสกปรก
    อื่น ๆ ออก
  2. การกะเทาะ (Hulling) เป็นการทำให้เปลือกข้าวหลุดออกจากเมล็ด สิ่งที่ได้จากขั้นตอนนี้ คือ แกลบ และข้าวกล้อง
  3. การขัดขาว (Whitening) เพื่อทำให้รำหลุดจากเมล็ดข้าวกล้อง สิ่งที่ได้ คือ รำ และข้าวสาร
  4. การคัดแยก (Grading) คือการแยกข้าวสารออกเป็นข้าวเต็มเมล็ด ต้นข้าว และข้าวหัก ขนาดต่างๆ ออกจากกัน
           ข้าวคุณภาพดี ควรสีได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวมาก โดยมีข้าวหักน้อย  ปัจจัยที่ทำให้ข้าวหักในระหว่างการสี คือ เมล็ดยาวมาก เมล็ดบิดเบี้ยว หรือไม่สมบูรณ์  เมล็ดมีท้องไข่ หรือ เมล็ดอ่อน  การเกิดเมล็ดร้าวก่อนการสี  ซึ่งอาจเกิดจากการเก็บเกี่ยวข้าวแช่น้ำ หรือเก็บเกี่ยวช้า  รวมทั้งการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวไม่เหมาะสม 
            คุณภาพการสีของข้าวประเมินจากปริมาณข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าว ข้าวที่มีคุณภาพการสีด ีเมื่อผ่านกระบวนการขัดสีแล้ว จะได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวสูง มีปริมาณข้าวหักน้อย ดังนั้น การประเมินคุณภาพการสีของข้าวจึงเกี่ยวข้องกับการแปรสภาพข้าว หรือการสีข้าว สิ่งที่ได้จากการสีข้าว ได้แก่
        1) แกลบ ประมาณ 20-24% ของข้าวเปลือก เป็นส่วนผสมของเปลือกเมล็ด กลีบเลี้ยง ฟาง และขั้วเมล็ด

        2) รำ ประมาณ 8-10% ของข้าวเปลือก เป็นส่วนผสมของเยื่อหุ้มผล เยื่อหุ้มเมล็ด เยื่อหุ้มเนื้อเมล็ด คัพภะ และผิวนอกๆ ของข้าวสาร

        3) ข้าวสาร ประมาณ 68-70% ของข้าวเปลือก ข้าวสารที่ได้จากการขัดขาวจะถูกนำไปคัดแยก เป็นข้าวเต็มเมล็ด ต้นข้าว และข้าวหัก ในปริมาณมาก น้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับคุณภาพข้าวเปลือกก่อนสี หากข้าวเปลือกมีคุณภาพดี จะได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวสูง ข้าวหักน้อย
3. คุณภาพในการซื้อขาย 
        การประเมินคุณภาพข้าวในการซื้อขายนั้น สิ่งที่กำหนดราคาข้าว ได้แก่

        1) ความชื้น มีบทบาทสำคัญในการกำหนดราคาข้าว ข้าวที่เก็บเกี่ยวในระยะที่เหมาะสม และลดความชื้นอย่างเหมาะสม เหลือ 13-15% จะมีราคาสูงกว่าข้าวที่มีความชื้นสูง เนื่องจากข้าวแห้งที่มี ความชื้นเหมาะสม สามารถทำการสีได้ โดยไม่ต้องนำมาลดความชื้นอีก แต่หากรับซื้อข้าวที่มีความชื้นสูง ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลดความชื้น และสูญเสียน้ำหนักข้าวหลังการลดความชื้น ดังนั้น ข้าวที่มีความชื้นเกินกำหนดจึงถูกตัดราคา

        2) ลักษณะทางกายภาพของข้าว โดยการกะเทาะ และขัดสีเพื่อประเมินสีข้าวกล้อง ท้องไข่ ความใสขุ่นของเมล็ด และสิ่งเจือปนอื่นๆ เช่น ข้าวแดง ข้าวเหลือง ข้าวเสีย หรือข้าวชนิดอื่นปน
เป็นต้น ซึ่งลักษณะเหล่านี้ในปริมาณต่างๆกัน จะเป็นตัวกำหนดราคาข้าว
        3) คุณภาพการสี เพื่อประเมินผลของการแปรสภาพจากข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร ปริมาณข้าวรวม ข้าวเต็มเมล็ด ต้นข้าว ข้าวหักขนาดต่างๆ และปลายข้าว ซึ่งผลได้จากการขัดสีของข้าวที่รับชื้อ จะเป็นค่าที่โรงสีใช้ประเมินผลได้จากการแปรสภาพในโรงสีจริง โดยทั่วไปโรงสีจะตั้งเกณฑ์ขั้นต่ำของผลได้จากการขัดสีของข้าวที่รับซื้อ หากข้าวที่เกษตรกรนำมาจำหน่ายมีผลได้จากการขัดสีต่ำกว่าเกณฑ์ จะถูกตัดราคา
        4) ประเภทของข้าว ข้าวคุณภาพดี ตามความต้องการของตลาดและเป็นที่นิยมของผู้บริโภค เช่นข้าวหอมมะลิ มักมีราคาดีกว่าข้าวขาว
4. คุณภาพทางเคมีที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการหุงต้มและรับประทาน (cooking and eating quality) 
              เป็นคุณภาพที่ผู้บริโภคใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อ ทั้งนี้เพราะความชอบข้าวสุกของแต่ละคนแตกต่างกัน ตั้งแต่ข้าวเหนียวนุ่มจนไปถึงข้าวร่วนแข็ง คุณภาพการหุงต้ม สามารถคาดคะเนโดยคุณสมบัติเมล็ดทางเคมี (Grain   chemical  properties)  ปัจจัยที่ทำให้ข้าวพันธุ์ต่างๆมีคุณภาพของข้าวสุกแตกต่างกันดังนี้
                   4.1 ปริมาณอมิโลส (Apparent  amylose  content) แป้งข้าวประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 2 ส่วน คือ อมิโลเปคติน (Amylopectin) และอมิโลส (Amylose) สัดส่วนขององค์ประกอบย่อยดังกล่าวมีผลต่อคุณภาพข้าวสุก เช่น แป้งข้าวเหนียวมีแต่อมิโลเปคติน หรือมีอมิโลสปนอยู่เพียงเล็กน้อย  ในแป้งข้าวเจ้าจะมีอมิโลสปนอยู่ประมาณ 10-34% ปริมาณอมิโลสเป็นสาเหตุทำให้ข้าวสุกมีความเหนียวลดลงหรือร่วนมากขึ้นและทำให้ข้าวนุ่มน้อยลงด้วย ได้จัดแบ่งประเภทข้าวตามปริมาณอมิโลส  ดังนี้
ประเภทข้าว
ปริมาณอมิโลส(%)  
ลักษณะข้าวสุก
ข้าวเหนียว
0-2
เหนียวมาก
ข้าวเจ้า
ข้าวอมิโลสต่ำ
10-19
เหนียวนุ่ม
ข้าวอมิโลสปานกลาง 
20-25
ค่อนข้างร่วนไม่แข็ง
ข้าวอมิโลสสูง
26-35
ร่วน  แข็ง

ข้าวที่มีอมิโลสสูงจะดูดน้ำได้มากในระหว่างการหุงต้ม  ดังนั้น ปริมาณน้ำที่ใช้จึงมีผลต่อคุณภาพข้าวสุก  เช่น
ข้าวอมิโลสต่ำต้องการน้ำน้อยหากน้ำมากเกินไปจะแฉะเละ แต่ถ้าข้าวอมิโลสสูงใส่น้ำปริมาณเท่าข้าวอมิโลสต่ำ จะได้ข้าวที่แข็งกระด้างมาก เนื่องจากข้าวอมิโลสสูงต้องการน้ำใช้ในการหุงต้มมาก เมื่อหุงสุกจะได้ข้าวร่วนฟูไม่เหนียวติดกัน จึงทำให้ข้าวสุกขยายปริมาตรมากหรือข้าวขึ้นหม้อ ในขณะที่ข้าวอมิโลสต่ำเป็นข้าว ที่เหนียวเกาะติดกันเป็นก้อนจึงไม่ขึ้นหม้อ ข้าวเจ้าพันธุ์ดีที่รัฐบาลส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกในปัจจุบัน แบ่ง ออกเป็น 3 กลุ่ม ตามคุณภาพข้าวสุก  คือ กลุ่มข้าวนุ่มเหนียว (อมิโลสต่ำ) กลุ่มข้าวขาวตาแห้ง (อมิโลสปานกลาง) และกลุ่มข้าวเสาไห้  (อมิโลสสูง) 

การจัดแบ่งข้าวพันธุ์ดีตามคุณภาพข้าวสุก

พันธุ์ข้าว
เมล็ดยาว (มม.)
อมิโลส(%)
อุณหภูมิแป้งสุก
ความคงตัวแป้งสุก
ข้าวสุกนุ่ม และเหนียว
ขาวดอกมะลิ 105*
7.2-7.6
13-18
ต่ำ
อ่อน
กข15*
7.5
14-17
ต่ำ
อ่อน
กข21
7.3
17-19
ต่ำ
อ่อน
ปทุมธานี1*
7.3-7.8
14-18
ต่ำ
อ่อน
ข้าวสุกอ่อน (ขาวตาแห้ง)
ขาวปากหม้อ
7.7
24-26
ปานกลาง
อ่อน
ขาวตาแห้ง 17
7.5
24-28
ต่ำ-ปานกลาง
อ่อน
กข7
7.2
24-28
ปานกลาง
อ่อน
กข23      
7.3
22-26
ปานกลาง
อ่อน
สุพรรณบุรี 60
7.5
20-26
ต่ำ
ปานกลาง
ข้าวสุกร่วนแข็ง (เสาไห้หรือข้าวเคี่ยว)
เหลืองใหญ่ 148     
7.3
30-31
ต่ำ
อ่อน-ปานกลาง
น้ำสะกุย 19
7.6
30-31
ต่ำ
อ่อน-ปานกลาง
เหลืองประทิว 123
7.4
28-32
ต่ำ-ปานกลาง          
อ่อน-แข็ง
เล็บมือนาง 111
7.6
29-32
ต่ำ-ปานกลาง          
แข็ง-อ่อน
ปิ่นแก้ว 56
7.5
29-31
ต่ำ-ปานกลาง          
แข็ง
กข11
7.6
29-32
ต่ำ
แข็ง
กข13
6.9
30-33
ต่ำ-ปานกลาง          
อ่อน
ปทุมธานี 60*
7.5
27-32
ต่ำ
แข็ง
ชัยนาท 1
7.4
27-30
ต่ำ-ปานกลาง
แข็ง
สุพรรณบุรี 90
7.4
27-30
ต่ำ-ปานกลาง          
แข็ง
สุพรรณบุรี 1
7.3
29
ปานกลาง
อ่อน
          * มีกลิ่นหอม   
               4.2 ความคงตัวของแป้งสุก (Gel consistency) แม้ปริมาณอมิโลสจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อคุณภาพข้าวสุก แต่ในระหว่างข้าวที่มีอมิโลสเท่ากัน อาจมีความแข็งของข้าวสุกแตกต่างกัน ทั้งนี้เนื่องจากคุณสมบัติของแป้งสุกมีอัตราการคืนตัวไม่เท่ากัน ทำให้แป้งสุกมีความแข็งและอ่อนแตกต่างกัน ข้าวที่มีค่าความคงตัวแป้งสุกอ่อน ข้าวสุกจะนุ่มกว่า ข้าวที่มีค่าความคงตัวแป้งสุกแข็ง การทดสอบความแข็งของแป้งสุก สามารถทดสอบโดยหาความคงตัวของแป้งสุกจากการอ่านระยะทางที่แป้งไหล แบ่งข้าวตามค่าความคงตัวของแป้งสุกเป็น  3  ประเภทคือ
ประเภทแป้งสุก
ระยะทางที่แป้งไหล  (มม.)
แป้งสุกแข็ง
26-40
แป้งสุกปานกลาง  
41-60
แป้งสุกอ่อน
61-100
               4.3 ระยะเวลาในการหุงต้ม (Cooking  time)  การต้มเมล็ดข้าวให้สุกใช้เวลาแตกต่างกัน  ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิแป้งสุก (gelatinization   temperature)  การประเมินหาอุณหภูมิแป้งสุก  โดยวิธีการสลายเมล็ดข้าวในด่าง (alkali   test)  โดยแช่เมล็ดข้าวสารในสารละลายด่างโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) 1.7%  นาน 23 ชั่วโมง และใช้ค่าการสลายของเมล็ดที่ปรากฏ  มาประเมินระดับอุณหภูมิแป้งสุกได้ดังนี้
อุณหภูมิแป้งสุก(องศาเซลเซียส)
ระดับ   
ค่าการสลายเมล็ดในด่าง 
ระยะเวลาในการหุงต้ม(นาที)
ต่ำกว่า 70
ต่ำ
       6-7     
12-16
  70-74
ปานกลาง
4-5
16-24
มากกว่า 75 
สูง
1-3
มากกว่า 24
              แม้ว่าระยะเวลาหุงต้มจะขึ้นกับอุณหภูมิแป้งสุก แต่ความหนาของเมล็ดข้าวทำให้ต้องยืดเวลาออกไป  เช่น ข้าวที่มีอุณหภูมิแป้งสุกเท่ากัน  ข้าวที่เมล็ดหนาจะต้องใช้เวลาในการหุงต้มนานกว่าข้าวเมล็ดบาง  ทำนองเดียวกัน โปรตีนที่มีมากตามบริเวณผิวนอกของเมล็ด อาจเป็นอุปสรรคในการซึมผ่านของน้ำ  ทำให้เวลาในการหุงต้มนานออกไปอีก
              4.4 การยืดตัวของเมล็ดข้าวสุก (Elongation  ratio  during   cooking)  ในระหว่างการหุงต้มเมล็ดข้าวมีการขยายตัวทุกด้าน โดยเฉพาะด้านยาว   คุณลักษณะนี้เป็นคุณภาพพิเศษของข้าว  ซึ่งจะช่วยเสริมให้เมล็ดข้าวสุกขยายมากขึ้น และหากข้าวสุกไม่เหนียวติดกันการขยายของข้าวสุกจะช่วยให้ข้าวขึ้นหม้อดีขึ้น ช่วยให้ข้าวนุ่มมากขึ้น  เพราะการขยายตัวทำให้เนื้อข้าวโปร่งไม่อัดแน่น ด้วยเหตุนี้ ข้าวบาสมาติ 370 ซึ่งเป็นข้าวอมิโลสปานกลาง แต่มีการยืดตัวดีมากจึงเป็นที่นิยมในตะวันออกกลาง

              4.5 กลิ่นหอม (Aroma)  ข้าวโดยทั่วไปมีสารระเหยหลายร้อยชนิดแต่ข้าวหอมจะมีสาร 2-acetyl-1-pyrroline มากกว่าข้าวทั่วไป ในข้าวสารหอม 1 กรัมมีสารนี้อยู่ 0.04-0.09 ไมโครกรัม และในข้าวกล้อง 1 กรัม มีอยู่ 0.1-0.2 ไมโครกรัม  ใบเตย 1 กรัมมีสารหอมนี้ในปริมาณ 1 ไมโครกรัม

               4.6 ปริมาณโปรตีน (Protein  content) 
 แม้ว่าโปรตีนจะไม่ค่อยถูกอ้างถึงเมื่อกล่าวถึงคุณภาพ แต่มีรายงานว่าโปรตีนที่ส่วนนอกของเมล็ด มีผลทำให้ระยะเวลาในการหุงต้มนานขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากโปรตีน เป็นตัวขัดขวางการซึมของน้ำเข้าไปภายในเมล็ดข้าว นอกจากนี้โปรตีนสูงทำให้เมล็ดแกร่งขื้นทำให้ขัดสีออกได้ยาก อาจมีระดับการสีต่ำ (มีรำเหลืออยู่มาก) ทำให้ข้าวสุกเหนียวน้อยลงและมีสีคล้ำ จากการศึกษาผลการใส่ปุ๋ย ต่อคุณภาพข้าว  พบว่า การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนซึ่งทำให้โปรตีนในเมล็ดข้าวสารพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105  สูงขึ้น มีข้าวสุกสีคล้ำขึ้น ข้าวมีความนุ่มลดลงเมื่อเมล็ดข้าวสารมีโปรตีน 10% และหากโปรตีนสูง 12%  ความเหนียวของข้าว จะลดลงด้วย

การเก็บเกี่ยว

ระยะเวลาเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม คือ 28-30 วัน หลังข้าวออกดอก การเก็บเกี่ยวในระยะนี้ทำให้ได้ข้าวที่มีคุณภาพการสีดี ถ้าเก็บเกี่ยวเร็วหรือช้าเกินไปมีผลต่อคุณภาพเมล็ด คือ
- การเก็บเกี่ยวเร็วเกินไป
1. เมล็ดข้าวน้ำหนักเบา การสะสมแป้งไม่เต็มที่
2. ข้าวมีความชื้นสูง ถ้าลดความชื้นล่าช้า ทำให้ข้าวเสื่อมคุณภาพ มีจุลินทรีย์เข้าทำลาย
3. คุณภาพการสีต่ำได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวต่ำ เมล็ดยังเขียว อ่อน มีข้าวหักและป่น

ข้าวเขียวหรือข้าวอ่อน
- การเก็บเกี่ยวช้าเกินไป
1. สูญเสียผลผลิตข้าว เพราะข้าวแห้งกรอบ ร่วงหล่นในนา
2. นก หนู และแมลง เข้าทำลาย
3. คุณภาพการสีต่ำ ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวต่ำ เพราะเมล็ดกรอบและมีรอยแตกร้าว 
4. กรณีรวงข้าวแช่น้ำ ทำให้เกิดเมล็ดงอก
เมล็ดมีรอยแตกร้าว
เมล็ดงอก
วิธีการเก็บเกี่ยว
- เก็บเกี่ยวโดยแรงงานคน :ใช้เวลาในการเก็บเกี่ยวนาน ขาดแคลนแรงงาน และค่าจ้างสูง


- เก็บเกี่ยวโดยเครื่องเกี่ยวนวด : ใช้เวลาเก็บเกี่ยวเร็ว แต่ข้าวมีความชื้นสูงประมาณ 25-30%

การปฎิบัติก่อนการเก็บเกี่ยว

การปฎิบัติก่อนการเก็บเกี่ยว
- ตรวจแปลงนาระยะข้าวเริ่มออกรวง หากพบรวงโผล่พ้นจากใบธงประมาณ 80% ของแปลง กำหนดเป็นวันออกดอก

- 21 วันหลังวันออกดอก ระบายน้ำออกจากแปลงนา


- 28-30 วัน หลังวันออกดอก กำหนดเป็นวันเก็บเกี่ยว


ระบายน้ำออกจากแปลงหลังข้าวออกดอก 21 วัน
ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมหลังข้าวออกดอก 28-30 วัน

การใช้สารเคมีกำจัดหนูระหว่างการปลูกข้าวไร่

การใช้สารเคมีกำจัดหนูระหว่างการปลูกข้าวไร่

หลังจากใช้สารเคมีกำจัดหนูประเภทออกฤทธิ์เร็วไปแล้วประมาณ 3 4 สัปดาห์ คือเมื่อถึงระยะที่ตั้งตัวได้แล้ว ให้ใช้สารเคมีกำจัดหนูประเภทออกฤทธิ์ช้า เช่น คลีแร็ตหรือราคูมิน ซึ่งเป็นเหยื่อพิษสำเร็จรูปในก้อนขี้ผึ้ง ก้อนละประมาณ 5 กรัม หรือที่ผสมใส่ถุงพลาสติกขนาดเล็กถุงละประมาณ 15 กรัม นำเหยื่อพิษสำเร็จรูปนี้ไปวางตามแหล่งที่พบร่องรอยของหนูและในแปลงข้าวไร่ โดยแต่ละก้อนหรือแต่ละถุงห่างกันประมาณ 4 5 เมตร และให้วางเหยื่อพิษดังกล่าวนี้เดือนละ 1 ครั้งก็เพียงพอแก่การควบคุมประชากรของหนูได้ดี

การใช้สารเคมีกำจัดหนูก่อนการปลูกข้าวไร่

 การใช้สารเคมีกำจัดหนูก่อนการปลูกข้าวไร่


                เนื่องจากหนูเป็นสัตว์ศัตรูข้าวที่ค่อนข้างฉลาด ดังนั้นก่อนการปลูกข้าวไร่ประมาณ 2 สัปดาห์ จึงควรใช้สารเคมีกำจัดหนู เพื่อลดประชากรของหนูที่มีอยู่มากให้เหลือน้อยลงมากที่สุด โดยการใช้สารเคมีประเภทออกฤทธิ์เร็วซิงค์ฟอสไฟด์ผสมกับปลายข้าวในอัตราส่วนของซิงค์ฟอสไฟด์ 1 ส่วนกับปลายข้าว 100 ส่วน โดยน้ำหนักเป็นเหยื่อพิษ หรือใช้สารซิลมูรินผสมกับปลายข้าวในอัตราส่วนของซิลมูริน 1 ส่วนกับปลายข้าว 20 ส่วน โดยน้ำหนักเป็นเหยื่อพิษ นำเหยื่อพิษชนิดใดหนึ่งที่กล่าวแล้วไปวางตามร่อยรอยที่พบตามคันนาหรือตามรูหนูที่พบในปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะทุกๆ ระยะ 510 เมตร ควรใช้กลบคลุมเหยื่อพิษที่วางเพื่อป้องกันความชื้นและล่อให้หนูมากินเหยื่อพิษมากขึ้น การใช้สารเคมีกำจัดหนูก่อนการปลูกข้าวไร่นี้นอกจากจะช่วยลดจำนวนประชากรของหนูได้โดยตรงแล้ว ยังช่วยป้องกันไม่ให้ข้าวไร่ที่จะหยอดเสียหายจากหนูได้

การป้องกันกำจัดโดยไม่ใช้สารเคมี

การป้องกันกำจัดโดยไม่ใช้สารเคมี
                1. การขุดรูหนู
                2. การดักหนู โดยใช้กับดักหรือกรงดักก็จะช่วยในการกำจัดหนูได้อีกวิธีหนึ่ง
                3. การปรับปรุงสภาพแวดล้อมตามบริเวณข้าวไร่เกษตรกรควรปรับปรุงคันนาไม่ให้เหมาะสมกับการที่หนูจะเข้ามาขุดรูอยู่อาศัย โดยไม่ทำคันนาให้ใหญ่มากนัก หรือกำจัดวัชพืชเพื่อไม่ให้หนูมีที่หลบซ่อน
                4. การรักษาศัตรูธรรมชาติไว้ช่วยปราบหนู เกษตรกรมักจะทราบ

กันดีแล้วว่างูชนิดต่างๆ เช่น งูเห่า งูทางมะพร้าว งูสิง ฯลฯ พังพอน เหยี่ยว นก

แสก นกเค้าแมว นกฮูก เป็นศัตรูธรรมชาติที่ช่วยกำจัดหนู ดังนั้นการรักษา

ศัตรูธรรมชาติเหล่านี้ไว้จะช่วยในการกำจัดหนูศัตรูข้าวไร่ได้ดีอีกด้วย ใน

บริเวณข้าวไร่ก็ควรจะทำคอนจากกิ่งไม้ทางมะพร้าวหรืออื่นๆ ไว้ให้นกที่หากิน

กลางคืนเกาะ เช่น นกแสก นกฮูก จะช่วยให้นกเหล่านี้มีโอกาสกำจัดหนูได้

ง่ายขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำนา

 เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำนา
 เครื่องมือทำนาแบบดั้งเดิมจะมีลักษณะคล้ายกันในแทบทุกภาค โดยจะแตกต่างกันบ้างในวัสดุที่ทำจากท้องถิ่น การตกแต่งลวดลายและมีชื่อเรียกแตกต่างกัน หรืออาจมีเครื่องมือที่มีลักษณะเฉพาะที่นิยมใช้แต่ในภูมิภาคเท่านั้น เราสามารถแบ่งเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำนาออกเป็นเครื่องมือพื้นบ้านและเครื่องมือแบบสมัยใหม่
     1.เครื่องมือพื้นบ้าน
      เครื่องมือในระยะก่อนการเพาะปลูก
     ไถ เครื่องมือที่ใช้พรวนดินก่อนการปลูกข้าว กลับหน้าดินเพื่อทำให้ดินร่วนซุย ไถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ไถวัว ซึ่งเป็นไถที่ใช้แรงงานวัวและไถควายซึ่งเป็นไถที่ใช้แรงงานควายไถ
     แอก เครื่องมือที่ใช้สำหรับสวมคอควายเพื่อที่จะไถ แอกมี2 ชนิดคือแอกวัวควายคู่กับแอกควายเดี่ยว
     คราด เครื่องมือที่ใช้สำหรับคราดดินให้ร่วนซุย คราดมี 2 ชนิดคือ คราดวัวควายคู่และคราดควายเดี่ยว
     จอบ เครื่องมือสำหรับดายหญ้า พรวนดิน และเตรียมดิน
     ก๋วยกล้า เครื่องมือที่ใช้สำหรับใส่กำกล้าหรือขนย้ายสิ่งของ มักใช้ทางภาคเหนือ
     ตอก เครื่องมืออีกชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับตอกมัดฟ่อนหรือกำกล้า มีอยู่ 2 ชนิด คือตอกมัดฟ่อนข้าวกับตอกมัดกำกล้าไม้
     หาบกล้า(บางถิ่นเรียก คันหลาว) ใช้หาบต้นกล้าเพื่อนำไปปักดำ
     ม้าหาบข้าว ใช้ในการเรียงต้นกล้าหรือฟ่อนข้าวในคันหลาว

      เครื่องมือเครื่องใช้ในช่วงเก็บเกี่ยว
     เคียว เครื่องมือเกี่ยวข้าวมีรูปโค้ง 2 ชนิด คือเคียวงอกับเคียวลา
     แกระ/ แกะ เครื่องมือเกี่ยวข้าวที่ใช้เก็บรวงข้าว นิยมใช้ในภาคใต้
     คันหลาว ใช้หาบฟ่อนข้าวจากนาไปลานนวด หรือใช้หาบกำกล้าไปปักดำ
     ไม้หนีบ ใช้หนีบฟ่อนข้าวเพื่อยกข้าวฟาดลงบนลานหรือไม้รองในไม้ฟาดข้าว
การนวดข้าว ใช้มากทางภาคอีสานม้ารองนวดข้าว
     ม้ารองนวดข้าว เอาไว้ใช้สำหรับรองรับฟ่อนข้าวเพื่อนวดหรือฟาดเพื่อตี เมล็ดข้าวจะได้หลุดร่วง
     ไม้ข้าวนวดสนnใช้วางคันหลาวเพื่อนวดข้าว ใช้ไม้นวดสนุตีข้าวที่เหลืออยู่ในมัดฟาง
    ฟอยหนาม ใช้กวาดเศษฝุ่นและเศษฟางออกจากกองข้าว
     พัดวี ใช้สำหรับพัดฝุ่นผงและข้าวลีบให้ออกจากกอข้าวเปลือก
     คราด ใช้คราดกวาดขยะมูลฝอยและเกลี่ยดินเพื่อทำลานนวดข้าว
     ตะกร้า เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับใส่ข้าวเปลือก ข้าวสาร ตักตวงข้าวหรือใส่สิ่งของอื่น ๆ

 เครื่องมือในการแปรรูปข้าว
ครกซ้อมมือ ใช้สำหรับตำข้าวเปลือก จากข้าวเปลือกเป็นข้าวกล้อง จากข้าวกล้องเป็นข้าวสาร
ครกกระเดื่อง ใช้ตำขาวโดยใช้ปลายเท้าเหยียบกระเดื่องให้สากกระดกขึ้นลง
กระด้ง ใช้ฝัดร่อนข้าวเอาเศษผงฝุ่นแกลบออกจากเมล็ดข้าว
ตะแกรง ใช้สำหรับร่อนแยกเศษฟางออกจากเมล็ดข้าว

2.เครื่องมือทำนาแบบสมัยใหม่
 เครื่องมือเครื่องใช้ในระยะเตรียมดิน
รถไถนา ใช้ได้ทั้งเตรียมดินนาหว่านและนาดำและคราด
รถแทรกเตอร์ เครื่องเตรียมดิน ทำนา ทำสวน ทำไร่หรือหักร้างถางพง
เครื่องปักดำ ใช้แทนการปักดำด้วยแรงงานคน เครื่องมือชนิดนี้ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก
เครื่องสูบน้ำ
เครื่องสูบน้ำเข้านาโดยใช้เครื่องยนต์หรือไฟฟ้าเป็นแรง
หมุนมอเตอร์สูบจากแม่น้ำ คลองชลประทานมาใช้ในนา
 เครื่องมือเครื่องใช้ในการเกี่ยวข้าว
-รถเกี่ยวและนวดข้าวใช้สำหรับเกี่ยวและนวดข้าวไปพร้อมๆ กัน เป็น
-รถแบบตีนตะขาบวิ่งได้ในนาที่มีพื้นที่เรียบ
เครื่องนวดข้าว
ใช้เครื่องยนต์ในการนวดข้าวให้ย่อยจากรวงเป็นเมล็ดข้าวเปลือก เมื่อต้องการนวดข้าว ก็เอาเครื่องยนต์จากรถไถนาเดิมมาหมุนตามเครื่องนวดและสามารถใช้กระสอบหรือผืนผ้าใบมารองรับเมล็ดจากเครื่อง
 เครื่องมือเครื่องใช้ในการแปรรูปข้าว

-เครื่องสีข้าวใช้สำหรับสีข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสารและออกมาเป็นแกลบและรำ

วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โรค

 ชื่อโรค/โรคข้าวไร่และการป้องกันกำจัด
โรคข้าวไร่ที่พบระบาดทั่วไปในปัจจุบัน เกิดจากสาเหตุใหญ่ 2 ประการด้วยกัน คือ
1. โรคที่เกิดจากเชื้อ
    1. โรคที่เกิดจากเชื้อ
        1.1 เชื้อรา
                1.1.1 โรคไหม้
                1.1.2 โรคใบขีดสีน้ำตาล
                1.1.3 โรคใบจุดสีน้ำตาล                1.1.4 โรคใบวงสีน้ำตาล


        1.2 เชื้อแบคทีเรีย
                1.2.1 โรคขอบใบแห้ง

        1.3 เชื้อไวรัสและ/หรือไฟโตพลาสมา 
                1.3.1 โรคใบสีแสด

        1.4 ไส้เดือนฝอย
                1.4.1 ไส้เดือนฝอยรากปม

2. โรคไม่มีเชื้อ
        2.1 สิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม
                2.1.1 อุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป
                2.1.2 สภาพ ดิน น้ำ และอากาศเป็นพิษ
                2.1.3 ความสูงจากระดับน้ำทะเลสูงหรือต่ำเกินไป
                2.1.4 ความลึกของหน้าดินตื้นเกินไป
        
        2.2 การขาดธาตุอาหารที่สำคัญ

          2.1.1 ธาตุไนโตรเจน เป็นธาตุที่สำคัญในการเจริญเติบโตของต้นข้าว ข้าวที่ขาดธาตุไนโตรเจน ใบอ่อนจะมีสีเขียวซีดเริ่มจากปลายใบเข้ามา ส่วนใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วเป็น สีน้ำตาล ในที่สุดจะแห้งตายไป ต้นข้าวจะมีลักษณะแคระแกร็น แตกกอน้อยใบข้างจะแคบเล็กและบาง เมื่อพบอาการดังกล่าวมาแล้วในแปลงข้าว ควรจะรีบทำการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนโดยทันที
ในกรณีที่ธาตุไนโตรเจนมีมากเกินไป ต้นข้าวจะแตกกอมาก ต้นข้าวจะสูง ลำต้นอ่อนแอ ข้าวจะแก่ช้า และข้าวจะล้มง่าย นอกจากนี้ยังถูกแสงแดดหรือความแห้งแล้งทำความเสียหายให้โดยง่ายอีกด้วย
      2.1.2 ธาตุฟอสฟอรัส เป็นธาตุอาหารที่สำคัญในการสร้างระบบรากของต้นข้าว และในระยะแรกของการเจริญเติบโตของต้นข้าว ต้นข้าวที่ขาดธาตุฟอสฟอรัสใบจะมีสีเขียวเข้มใบเล็กและเรียวและตั้งตรง รากจะไม่ขยายเช่นปกติ
         2.1.3 ธาตุโพแทสเซียม มีความสำคัญในการสร้างลำต้นของข้าวและเปลือก การแตกกอน้อย